ต้นดอกแก้ว
ต้น ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ สีเขียวเข้ม เปลือกต้น สีขาว
เทา แตกเป็นร่องตามยาว
เทา แตกเป็นร่องตามยาว
ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ มีใบย่อย 5-9 ใบ เรียงสลับกันจากเล็กไปหาใหญ่ สีเขียวเข้มเป็นมัน ใบย่อยที่ปลายก้านใบรูปไข่ รูปรี หรือรูปไข่กลับ ปลายแหลม โคนแหลมหรือสอบ ขอบเป็นคลื่นหรือหยักมนตื้นๆ โคนใบเบี้ยวเล็กน้อย ใบมีต่อมน้ำมัน
ดอก ช่อดอกสั้น ออกตามง่ามใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบเลี้ยง ขนาดเล็ก ปลายมน กลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ยาวประมาณ1.2 ซม. เรียงซ้อนเหลื่อม ฐานรองดอกรูปวงแหวน เกสรเพศผู้ 10 อัน ยาวไม่เท่ากัน ยาวประมาณกึ่งหนึ่งของกลีบดอก ก้านเกสรเพศผู้แบน รังไข่ติดเหนือวงกลีบ ก้านเกสรเพศเมียหนา ยาวประมาณ 0.7 ซม. ยอดเกสรรูปโล่ห์ ร่วงง่าย ดอกบานเต็มที่กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร
ฝัก/ผล รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 5-8 มม. ยาวประมาณ 1 ซม. ผลแก่สีแดงอมส้ม ต่อมน้ำมันเห็นได้ชัด
เมล็ด รูปไข่ มีขนหนาและเหนียวหุ้มโดยรอบเมล็ด
เมล็ด รูปไข่ มีขนหนาและเหนียวหุ้มโดยรอบเมล็ด
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง
การใช้ประโยชน์:
- ไม้ประดับ
- สมุนไพร
- เนื้อไม้มีลายมันสวยงาม มีน้ำมันในเนื้อไม้ นิยมใช้ทำเครื่องตกแต่งในบ้าน ด้ามเครื่องมือ ด้ามปากกา เครื่องดนตรี ได้แก่ ซอด้วง ซออู้
- ไม้ประดับ
- สมุนไพร
- เนื้อไม้มีลายมันสวยงาม มีน้ำมันในเนื้อไม้ นิยมใช้ทำเครื่องตกแต่งในบ้าน ด้ามเครื่องมือ ด้ามปากกา เครื่องดนตรี ได้แก่ ซอด้วง ซออู้
สรรพคุณทางยา:
- ใบ ใช้ปรุงเป็นยาขับระดู และยาระบายลมแก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ
เกร็ดความรู้ ดอกไม้ประจำจังหวัด สระแก้ว
ชื่อสามัญ: Orang Jessamine, China Box Tree, Andaman Satinwood, Chinese Box-wood
ชื่อวิทยาศาสตร์: Murraya paniculata (L.) Jack.
ชื่อพื้นเมืองอื่น: กะมูนิง (มลายู ปัตตานี) แก้วขาว (กลาง) แก้วขี้ไก่ (ยะลา) แก้วพริก (เหนือ) แก้วลาย (สระบุรี) จ๊าพริก (ลำปาง) และ ตะไหลแก้ว (เหนือ)
สถานที่พบ พบที่หน้าอาคาร 1
อ้างอิง https://sites.google.com/site/wachiratham59602/home/22-1
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น