ต้นพุดศรีลังกา
- ชื่อสามัญ: Gerdenia Crape Jasmine
- ชื่อวิทยาศาสตร์: Gardenia jasminoides
- ชื่อพื้นเมือง: ต้นพุดศุภโชค , ต้นพุดแคระ
- ลักษณะทั่วไปเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลักษณะเป็นพุ่มเตี้ย ลำต้นสูง 1-3 เมตร ผิวลำต้นมีสีขาวเทา แตกกิ่งก้านออกใบรอบต้นใบเป็นใบเดี่ยว แตกออกเป็นคู่ตรงกันข้าม ตามข้อของกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบสีเขียวยาว 8-12 ซม. ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามปลายยอดหรือปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมี 5-6 ดอก แล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกมีกลิ่นหอมสีขาวหรือเรียงเป็นชั้นเดียวแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกบานมีความโต 2-5 ซม. ออกผลเป็นฝักรูปกระบอกแหลมโค้ง ภายในมีเมล็ด 3-5 เมล็ดการขยายพันธ์ุการเพาะเมล็ดการตอนกิ่งการปักชำประโยชน์สำหรับดอกพุดนั้นนิยมนำไปร้อยพวงมาลัยเพื่อบูชาพระ มีการนำเมล็ดเมล็ดไปใช้แต่งสีอาหารและทำสีย้อม เนื่องจากมีเมล็ดสีเหลืองทอง สำหรับดอกพุดซ้อนนั้นนำไปใช้สกัดทำเป็นน้ำมันหอมระเหย ใช้ทำน้ำหอมและแต่งกลิ่นเครื่องสำอาง และมีการนำเอาไปทำสมุนไพร“สรรพคุณทางยา”
- ใบ ดอกพุดซ้อนนำมาตำพอกแก้ปวดศีรษะ แก้เคล็ดขัดยอกที่เกิดขึ้น
- ดอก นำมาคั้นเอาน้ำเพื่อทาแก้โรคผิวหนัง
- ราก ใช้รักษาอาการแก้ไข้
- เปลือกต้น แก้บิดที่เกิดขึ้นความเชื่อคนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุดไว้ประจำบ้านจะทำให้มีความเจริญ ความมั่นคง เพราะพุด หรือ พุฒ หมายถึง ความเเข็งแรงสมบูรณ์ คือความเจริญมั่นคง นั่นเอง นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่า จะทำให้เกิดบริสุทธิ์ เพราะดอกพุดมีสีขาวสดใสกลับมีดอกใหญ่ที่ขาวสะอาด ดังนั้นแง่หนึ่งเช่นกันทั้งนี้ก็เพราะโบราณเชื่อว่าเนื้อไม้ของพุดเป็นไม้ที่แข็งแกร่งและมีอิทธิฤทธิ์พอสมควร - สถานที่พบ
- พบที่หน้าลานธรรม
- อ้างอิง
- https://sites.google.com/site/wachiratham59602/home/31
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น