น.ส ทิพย์สุดา นาจะหมื่น

test

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562

ตะโก


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตะโก



                                        ตะโก


ชื่อพื้นเมือง : โก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ตะโกนา (ทั่วไป) นางัว (นครราชสีมา) มะโก (ภาคเหนือ) มะถ่านไฟผี (เชียงใหม่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros rhodocalyx Kurz.
ชื่อวงศ์ : EBENACEAE
ชื่อสามัญ : Ebony
ลักษณะวิสัย : 
     ต้น : ไม้ยืนต้น สูงประมาณ 6 เมตร เปลือกต้นขรุขระสีน้ำตาลเข้มเกือบดำกิ่งอ่อนสีดำ
     ใบ : ใบเดี่ยว รูปไข่กลับ กว้าง 2- 7 เซนติเมตร ยาว 5- 12 เซนติเมตร โคนใบสอบปลายใบโค้งมน เรียงสลับ
     ดอก : สีขาว แยกเพศ ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ กลีบดอก 4 กลีบ ยาว 8- 12 เซนติเมตร เชื่อมติดกันเป็นรูปคนโท ปลายแยกเป็นแฉกสั้น ๆ เกสรตัวผู้ 14-16 อัน ดอกเพสเมียเป็นดอกเดี่ยว กลีบดอก 4 กลีบ คล้ายดอกเพศผู้เทียม 8-10 อันมีขนาดใหญ่กว่าดอกตัวผู้ ออกดอกและติดผลช่วง มีนาคม – มิถุนายน
     ผล : ผลสด ทรงกลม มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ติดอยู่ ผิวมีขนละเอียด มีขนาด 2- 3 เซนติเมตร เมื่อสุกสีส้มแดง
ประโยชน์: ผล แก้ท้องร่วง แก้พยาธิ เปลือกผล เผาให้เป็นถ่าน แช่น้ำรับประทานขับระดูขาว ขับปัสสาวะ เปลือก และเนื้อไม้ บำรุงธาตุ
สถานที่พบ หน้าโรงเรียน
อ้างอิง  https://wpnbotanist.wordpress.com/%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B8%B2/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

Your Ad Spot