น.ส ทิพย์สุดา นาจะหมื่น

test

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ต้นเข็มแดง







ชื่อสามัญ ต้นเข็มเเดง (WEST INDIAN  JASMINE)
ชื่อวิทยาศาสตร์  Ixora lobbii Loudon
ชื่อพื้นเมือง เงาะ (สุราษฎร์ธานี), จะปูโย (มลายู-นราธิวาส), ตุโดบุโยบูเก๊ะ (มลายู), เข็มดอกแดง เป็นต้น
ลักษณะทั่วไป 
   ลำต้น  เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดย่อม ลำต้นสูงประมาณ 3–5 ฟุต จะแตกกิ่งก้านสาขาออกแผ่เป็นพุ่ม ลำต้นเป็นต้นเดี่ยวหรือแตกกอแผ่สาขาออกไปเป็นต้นต้นเล็กกลมขนาดเส้นรอบวงประมาณ 4-10 เซนติเมตรลำต้นเรียบสีน้ำตาลกิ่งยอดมีสีเขียวแตกกิ่งตรงขึ้นด้านบน
    ใบ  ใบของดอกเข็มแข็ง และเปราะง่าย มีสีเขียวสด ลักษณะใบมนรี ปลายใบแหลม โคนใบมน ใบจะออกเรียงสลับกันคนละทิศทาง ลักษณะใบมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์
    ดอก  ดอกออกเป็นช่อใหญ่ จะออกตรงส่วนยอดของต้น ในแต่ละช่อจะประกอบด้วยดอกขนาดเล็กเป็นหลอด ตรงปลายหลอดจะเป็นกลีบซึ่งมีอยู่ 4-5 กลีบ ปลายกลีบแหลม ลักษณะดอกจะเป็นสีแดง

    ราก  มีลักษณะตอนโคนจะโตแล้วค่อยเรียวเล็กลงไปจนถึงปลายจะยาวและใหญ่กว่ารากอื่นๆที่แยกออกไป และจะมีรากแขนงแตกออกมาจากรากแก้มแตกแขนงออกเป็นทอดๆได้อีกเรื่อยๆเป็นจำนวนมาก    ฝัก/ผล  เป็นผลกลม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีดำ  
การขยายพันธุ์ ปักชำกิ่ง เพาะเมล็ด กิ่งตอน

ประโยชน์ -ไม้ประดับ
สถานที่พบ พบที่หน้าอาคาร 3
อ้างอิง
https://sites.google.com/site/wachiratham59602/home/25

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

Your Ad Spot